เมื่อได้บรรจุเป็นพนักงานประจำ สวัสดิการต่าง ๆ ก็ตามมา เช่น ประกันสังคม ค่า OPD ของบริษัท ประกันชีวิต และอื่น ๆ เนื่องจากปีแรกที่ผมทำงาน ตอนนั้นเสียดายมากที่ไม่ได้ใช้สวัสดิการเหล่านั้นใช้จ่ายค่าอุดฟัน จนทำให้เสียสิทธิ์นั้นไป ไม่งั้น..ผมคงได้อุดไปหลายซี่เลยทีเดียว 555+
เมื่อเข้าสู่ปีที่สองของการทำงาน ผมก็รีบหาเวลาไปอุดฟันที่คลินิก หลังจากได้อุดฟันไป 2 ซี่ (บน-ล่าง) ก็หมดไปประมาณ 1700 บาท ( ซี่ละ 800-1000 บาท ) ผมก็บอกพยาบาลว่า "ขอใบรับรองแพทย์ไปเบิกสวัสดิการบริษัทครับ" เนื่องจากผมได้สวัสดิการทำฟัน 1500 บาท/ครั้ง/ปี ทำให้ค่าทำฟันครั้งนี้เกินวงเงินไป 200 บาท แต่ผมคิดว่าไม่เป็นไร เบิกคืนเพียง 1500 บาท ก็พอแล้ว
แต่เราสามารถเบิกได้ครอบคลุมวงเงินมากกว่านั้น โดยการแยกบิล 1500 บาท และ 200 บาท เพื่อนำไปเบิก OPD และ ประกันสังคม ตามลำดับ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่า บริษัทนั้น ๆ จะให้วงเงินทำฟันเท่าไร ?
สำหรับเบิกค่าทำฟันกับประกันสังคมมีวงเงินต่าง ๆ ดังนี้ ครับ.....
_________________________________________________________
_________________________________________________________
กรณีทันตกรรม (ถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน และใส่ฟันเทียม)
ตามประกาศของคณะกรรมการการแพทย์ตาม พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533 เรื่อง หลักเกณฑ์ และอัตราสำหรับประโยชน์ทดแทนในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน (ทันตกรรม) ประกาศ ณ วันที่ 28 ธันวาคม 2553 โดยประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 ประกาศคณะกรรมการการแพทย์ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 เรื่อง หลักเกณฑ์และอัตราสำหรับประโยชน์ทดแทนในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงหลักเกณฑ์และอัตราสำหรับประโยชน์ทดแทนในกรณีทันตกรรม เพื่อเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้แก่ผู้ประกันตน ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศ ณ วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป (ประกาศกรณีทันตกรรม)
หลักเกณฑ์และเงื่อนไข
การถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน และผ่าตัดฟันคุด ให้ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริง ตามความจำเป็นแต่ไม่เกิน 300 บาทต่อครั้ง และไม่เกิน 600 บาทต่อปี
กรณีใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้บางส่วน ให้ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์และค่าฟันเทียมเท่าที่จ่ายจริง ตามความจำเป็นในวงเงินไม่เกิน 1,500 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปีนับแต่วันที่ใส่ฟันเทียมนั้น ตามหลักเกณฑ์ดังนี้
(ก) 1-5 ซี่ เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นในวงเงินไม่เกิน 1,300 บาท
(ข) มากกว่า 5 ซึ่ เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นในวงเงินไม่เกิน 1,500 บาท
กรณีใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้ทั้งปาก ให้ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์และค่าฟันเทียมเท่าที่จ่ายจริง ตามความจำเป็นในวงเงินไม่เกิน 4,400 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปีนับตั้งแต่วันที่ใส่ฟันเทียมนั้น ตามหลักเกณฑ์ดังนี้
(ก) ฟันเทียมชนิดถอดได้ทั้งปากบนหรือล่าง เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นในวงเงินไม่เกิน 2,400 บาท
(ข) ฟันเทียมชนิดถอดได้ทั้งปากบนและล่าง เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นในวงเงินไม่เกิน 4,400 บาท
หลักฐานที่ต้องใช้ในการยื่นคำขอรับประโยชน์กรณีทันตกรรม
กรณีขอรับเงินทางธนาคาร
ให้แนบสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชี 9 ธนาคาร ดังนี้
ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) KTB
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) BAY
ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) BBL
ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) KBANK
ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) SCB
ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) TMB
ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) TBANK
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย IBANK (เริ่มใช้วันที่ 1 มกราคม 2550)
ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน) CIMB เดิมคือ ธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน)
ยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครเขตพื้นที่ 1-12 แห่ง/จังหวัด/สาขา ที่สะดวก
_________________________________________________________
ทั้งหมดนี้ก็คือเรื่องราวการทำฟันกับสวัสดิการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรา ๆ วัยทำงานที่ผมนำมาฝากกันนะครับ หวังว่าบทความนี้จะเกิดประโยชน์ต่อคนทำงานอย่างสูงนะครับ จริง ๆ เราก็มีสวัสดิการหลาย ๆ ด้านที่เกี่ยวข้องกับตัวเรามากมาย แต่เรายังอาจนึกไม่ออกว่าจะดึงสิ่งเหล่านั้นมาใช้จ่ายอย่างไรให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด เหมือนกรณีทำฟันนี้...ซึ่งผมก็เพิ่งได้เรียนรู้และทดลอง
_________________________________________________________
เว็บไซต์อ้างอิง
http://www.sso.go.th/wpr/content.jsp?lang=th&cat=868&id=3648
ตามประกาศของคณะกรรมการการแพทย์ตาม พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533 เรื่อง หลักเกณฑ์ และอัตราสำหรับประโยชน์ทดแทนในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน (ทันตกรรม) ประกาศ ณ วันที่ 28 ธันวาคม 2553 โดยประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 ประกาศคณะกรรมการการแพทย์ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 เรื่อง หลักเกณฑ์และอัตราสำหรับประโยชน์ทดแทนในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงหลักเกณฑ์และอัตราสำหรับประโยชน์ทดแทนในกรณีทันตกรรม เพื่อเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้แก่ผู้ประกันตน ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศ ณ วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป (ประกาศกรณีทันตกรรม)
หลักเกณฑ์และเงื่อนไข
การถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน และผ่าตัดฟันคุด ให้ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริง ตามความจำเป็นแต่ไม่เกิน 300 บาทต่อครั้ง และไม่เกิน 600 บาทต่อปี
กรณีใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้บางส่วน ให้ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์และค่าฟันเทียมเท่าที่จ่ายจริง ตามความจำเป็นในวงเงินไม่เกิน 1,500 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปีนับแต่วันที่ใส่ฟันเทียมนั้น ตามหลักเกณฑ์ดังนี้
(ก) 1-5 ซี่ เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นในวงเงินไม่เกิน 1,300 บาท
(ข) มากกว่า 5 ซึ่ เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นในวงเงินไม่เกิน 1,500 บาท
กรณีใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้ทั้งปาก ให้ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์และค่าฟันเทียมเท่าที่จ่ายจริง ตามความจำเป็นในวงเงินไม่เกิน 4,400 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปีนับตั้งแต่วันที่ใส่ฟันเทียมนั้น ตามหลักเกณฑ์ดังนี้
(ก) ฟันเทียมชนิดถอดได้ทั้งปากบนหรือล่าง เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นในวงเงินไม่เกิน 2,400 บาท
(ข) ฟันเทียมชนิดถอดได้ทั้งปากบนและล่าง เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นในวงเงินไม่เกิน 4,400 บาท
หลักฐานที่ต้องใช้ในการยื่นคำขอรับประโยชน์กรณีทันตกรรม
- แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีทันตกรรม (สปส.2-16)
- ใบรับรองแพทย์
- ใบเสร็จรับเงิน
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้
- เวชระเบียนของแพทย์ผู้รักษา(กรณีบิกฟันปลอมฐานอคริลิก)
กรณีขอรับเงินทางธนาคาร
ให้แนบสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชี 9 ธนาคาร ดังนี้
ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) KTB
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) BAY
ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) BBL
ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) KBANK
ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) SCB
ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) TMB
ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) TBANK
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย IBANK (เริ่มใช้วันที่ 1 มกราคม 2550)
ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน) CIMB เดิมคือ ธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน)
ยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครเขตพื้นที่ 1-12 แห่ง/จังหวัด/สาขา ที่สะดวก
_________________________________________________________
ทั้งหมดนี้ก็คือเรื่องราวการทำฟันกับสวัสดิการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรา ๆ วัยทำงานที่ผมนำมาฝากกันนะครับ หวังว่าบทความนี้จะเกิดประโยชน์ต่อคนทำงานอย่างสูงนะครับ จริง ๆ เราก็มีสวัสดิการหลาย ๆ ด้านที่เกี่ยวข้องกับตัวเรามากมาย แต่เรายังอาจนึกไม่ออกว่าจะดึงสิ่งเหล่านั้นมาใช้จ่ายอย่างไรให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด เหมือนกรณีทำฟันนี้...ซึ่งผมก็เพิ่งได้เรียนรู้และทดลอง
ขอบคุณที่ติดตามครับ
หากบทความโดนใจ ฝากแชร์และไลค์
ด้วยนะครับ
_________________________________________________________
เว็บไซต์อ้างอิง
http://www.sso.go.th/wpr/content.jsp?lang=th&cat=868&id=3648
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น