วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2559

แนะนำการลงทุนใน “กองทุนรวม” KTSE (KTAM) เบื้องต้น


ผลตอบแทนจากการลงทุนใน “กองทุนรวม”

เข้าสู่เรื่องการลงทุน ผมก็ขอชงเรื่องเกี่ยวกับผลตอบแทนที่ได้จากกองทุนรวมที่ผมได้ซื้อไว้ ซึ่งก็ได้เห็นผลลัพธ์ที่น่าพอใจครับ ^_^

กองทุนรวมที่ผมซื้อไว้เป็นของธนาคารกรุงไทย ที่เรียกว่า KTAM โดยมีหลากหลายกองทุนให้เลือกซื้อเลือกลงทุน สำหรับผมเองก็ได้ซื้อไว้หลายกองทุนเพื่อกระจายความเสี่ยง บางกองทุนเลือกซื้อไว้สะสมมูลค่า บางกองทุนก็ไว้รับปันผล ซึ่งก็มีดังนี้ครับ

ล่าสุด! ผมเพิ่งได้เงินปันผลจาก KTSE ประมาณ 308.39 บาท (หักภาษีแล้ว) ในรอบเดือน ม.ค. – เม.ย. ในรอบนี้ประกาศจ่ายเงินปันผลหน่วยละ 0.75 บาท นอกจากนี้ ผมก็เพิ่งซื้อกองทุน KT-HIDIV ไปไม่กี่วัน ก็ได้รับเงินปันผลมาประมาณ 50 บาท ด้วยเช่นกัน ซึงเป็นช่วงที่กองทุนนี้กำลังดำเนินการจ่ายเงินปันผลพอดี

แนะนำการลงทุนใน “กองทุนรวม” เบื้องต้น

มีเพื่อน ๆ ของผม ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนเก่า เพื่อนแก่ เพื่อน ๆ ใน Facebook ต่างก็พากันสนใจในกองทุนรวมที่ผมได้นำเสนอไปในโซเชียลก่อนที่จะเขียนหนังสือเล่มนี้ คราวนี้ผมก็ขอแนะนำการลงทุนในกองทุนรวมเบื้องต้น เพื่อให้เพื่อน ๆ นำไปต่อยอดได้ด้วยตนเองต่อไป

ผมขอยกตัวอย่างกองทุนรวม KTSE ของธนาคารกรุงไทย เพราะว่าผมใช้บัญชีออมทรัพย์ของธนาคารนี้อยู่ก็เลยต่อยอดโดยการซื้อกองทุนรวมแห่งนี้ซะเลย และผมคิดว่าทุกอำเภอ ทุกจังหวัด คงจะมีธนาคารนี้เช่นกัน

ผมเริ่มต้นด้วยการศึกษาข้อมูลในอินเตอร์เน็ตของธนาคารกรุงไทย ไทยพาณิชย์ กสิกรไทย เนื่องจากผมมีบัญชีออมทรัพย์ของธนาคารเหล่านี้อยู่ซึงจะทำให้ผมสะดวกในการเปิดบัญชีกองทุน จริง ๆ แล้วก็มีกองทุนรวมอยู่หลายเจ้าที่ผมสนใจ แต่เดี๋ยวเอาไว้มีเวลาที่เหมาะสมก่อน แล้วค่อยขยับขยายต่อไปครับ

ผมศึกษาข้อมูลประมาณสองเดือน เปรียบเทียบแต่ละกองทุนว่ามีการซื้อขายครั้งแรกเท่าไร ครั้งต่อไปเท่าไร สับเปลี่ยนกองทุนมีค่าธรรมเนียมเท่าไร และข้อมูลอื่น ๆ ที่หาอ่านได้จาก Fund Fact Sheet ของแต่ละกองทุน

จากนั้นก็ตัดสินใจซื้อกองทุนรวม ดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น โดยผมถือสมุดบัญชีออมทรัพย์ไปธนาคารกรุงไทยเพื่อขอเปิดบัญชีกองทุนรวม จะได้มีสมุดไว้ซื้อขายกองทุน แต่ผมก็ไปซื้อกองทุน KTSS ไว้ประมาณ 500 บาทก่อน แล้วผมก็ซื้อ KTSE ผ่านออนไลน์ ทำให้ผมสะดวกในการสั่งซื้อกองทุนและไม่เสียเวลาเดินทางไปธนาคารอีกด้วย

สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนรวม เปิดอ่านได้ที่ภาคผนวก นะครับ

หากสนในบทความเหล่านี้
ทิ้งเมล์ไว้ในช่องแสดงความคิดเห็นด้านล่างนี้ได้เลยครับ
ผมจะส่งบทความให้ในเมล์ของทุกคนครับ


วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2559

เผยอีสานครองแชมป์ออมมากสุด ยอดสมาชิกรวมกว่า 400,000 เงินกองทุนใกล้แตะพันล้าน



โฆษกรัฐบาลแจง 1 พ.ค. ดีเดย์ขยายเวลาให้บริการสมัครกองทุนการออมแห่งชาติ เสาร์-อาทิตย์ เผยอีสานครองแชมป์ออมมากสุด ยอดสมาชิกรวมกว่า 400,000 เงินกองทุนใกล้แตะพันล้าน นายกฯพอใจพี่น้องเกษตรกร และนักเรียนนักศึกษาใช้ประโยชน์จากกองทุน

วันที่ 23 เมษายน 2559 พลตรี สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) จะขยายเวลาการให้บริการพี่น้องประชาชนที่ต้องการสมัครเป็นสมาชิกกองทุน จากเดิมที่ให้บริการในวันจันทร์ ถึงศุกร์ ตั้งแต่เวลา 8.30-19.00 น. เป็นการให้บริการตามเวลาเปิด-ปิด ของธนาคารแต่ละสาขาทั่วประเทศ ซึ่งจะทำให้สามารถสมัครในวันเสาร์-อาทิตย์ ได้ด้วยสำหรับสาขาธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ที่เปิดตามห้างสรรพสินค้า หรืออาคารสำนักงานต่างๆ ที่ให้บริการในวันเสาร์-อาทิตย์

“นโยบายนี้มีขึ้นเพื่ออำนวยให้แก่พี่น้องประชาชนสามารถสมัครเป็นสมาชิก กอช. ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยจะเริ่มให้บริการระบบใหม่นี้ ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม เป็นต้นไป ทั้งนี้นับแต่เปิดรับสมัครสมาชิกกองทุน ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2558 จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2559 พบมียอดสมาชิกรวม 417,460 คน โดยมียอดเงินสะสม 641,289,996 บาท ยอดสมทบโดยรัฐบาล 316,812,524 บาท คิดเป็นจำนวนเงินกองทุนรวม 958,102,520 บาท”

พลตรี สรรเสริญ กล่าวต่อว่า สมาชิกกองทุนส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คิดเป็นร้อยละ 51.2 ของจำนวนสมาชิกกองทุนทั้งหมด รองลงมาคือภาคกลาง ร้อยละ 19.7 และภาคเหนือ ร้อยละ 10.2 โดยหากจำแนกตามอาชีพของสมาชิกแล้ว พบว่า กลุ่มพี่น้องเกษตรกรเป็นกลุ่มที่สมัครเข้าเป็นสมาชิกมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 68.8 ของสมาชิกทั้งหมด หรือคิดเป็นจำนวนพี่น้องเกษตรกรกว่า 287,000 คน รองลงมาคือ อาชีพค้าขาย ร้อยละ 12.1

“ท่านนายกรัฐมนตรี รู้สึกยินดีอย่างมากที่เห็นพี่น้องเกษตรกรใช้ประโยชน์จากกองทุนจำนวนมาก เพราะเป้าหมายสำคัญของรัฐบาล และกองทุนฯ คือการส่งเสริมให้พี่น้องประชาชนได้ร่วมสร้างหลักประกันในชีวิตให้ตนเอง เพื่อให้มีเงินเลี้ยงดูตัวเองเป็นประจำทุกเดือนเมื่อเกษียณอายุโดยรัฐบาลร่วมสมทบตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด นอกจากนี้ยังพบว่า มีกลุ่มนักเรียน นักศึกษาร่วมเป็นสมาชิกประมาณ 9,000 คน ซึ่งถือเป็นแนวโน้มที่ดีที่เห็นคนรุ่นใหม่ใส่ใจการออม ตั้งใจสร้างหลักประกันในอนาคตให้ตัวเอง และที่สำคัญยิ่งออมเร็ว ยิ่งได้รับเงินเกษียณมากขึ้นตามระยะเวลาและจำนวนการออม”

ทั้งนี้ ยอดสมาชิกจำแนกเป็นการสมัครผ่าน ธ.ก.ส. จำนวน 224,828 ราย ธนาคารออมสิน 156,112 ราย ธนาคารกรุงไทย 27,616 ราย และโอนจากสำนักงานประกันสังคมอีก 10,224 ราย


ที่มา
http://www.thaigov.go.th/index.php/th/government-th1/item/102477-id102477

เว็บไซต์ของ "กองทุนการออมแห่งชาติ"







วันเสาร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2559

HTTPS คืออะไร? (เปิดการเปลี่ยนเส้นทาง HTTPS สำหรับบล็อกของคุณ)

เปิดการเปลี่ยนเส้นทาง HTTPS สำหรับบล็อกของคุณ

ถ้าต้องการให้ผู้เข้าชมเข้าถึงบล็อกของคุณผ่าน HTTPS เท่านั้น คุณก็สามารถเปิดการเปลี่ยนเส้นทาง HTTPS ได้


การใช้ HTTPS ในการเข้าถึงบล็อกแทน HTTP มีข้อดี 3 ประการดังนี้


  1. ช่วยตรวจสอบว่าผู้เข้าชมเปิดเว็บไซต์ที่ถูกต้อง และไม่ถูกเปลี่ยนเส้นทางไปยังเว็บไซต์ที่เป็นอันตราย
  2. ช่วยในการตรวจสอบหากมีผู้ไม่หวังดีพยายามเปลี่ยนข้อมูลที่ส่งจากบล็อกเกอร์ถึงผู้เข้าชม
  3. เพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยทำให้ยากที่จะดักฟังการสนทนาของผู้เข้าชม ติดตามกิจกรรม หรือขโมยข้อมูลของผู้เข้าชม

หมายเหตุ: ขณะนี้ยังไม่สามารถใช้ HTTPS สำหรับบล็อกในโดเมนที่กำหนดเองได้

เมื่อเปิดใช้การเปลี่ยนเส้นทาง HTTPS ผู้เข้าชมจะเข้าถึงบล็อกของคุณในเวอร์ชันที่มีการเข้ารหัสที่ https://<your-blog>.blogspot.com เสมอ

เมื่อต้องการเปิดใช้การเปลี่ยนเส้นทาง HTTPS ให้ทำดังนี้

  1. ลงชื่อเข้าใช้ Blogger
  2. เลือกบล็อกที่ต้องการอัปเดต
  3. ที่เมนูด้านซ้าย ให้คลิกการตั้งค่า > พื้นฐาน > HTTPS
  4. ใน "การเปลี่ยนเส้นทาง HTTPS" ให้เลือกใช่


ถ้าปิดใช้การเปลี่ยนเส้นทาง HTTPS ผู้เข้าชมจะมีทางเลือก 2 ทางในการดูบล็อกของคุณ ได้แก่

  1. ดูบล็อกในเวอร์ชันที่ไม่เข้ารหัสที่ http://<your-blog>.blogspot.com
  2. ดูบล็อกในเวอร์ชันที่เข้ารหัสที่ https://<your-blog>.blogspot.com

เมื่อต้องการปิดใช้การเปลี่ยนเส้นทาง HTTPS ให้ทำดังนี้

ลงชื่อเข้าใช้ Blogger

  1. เลือกบล็อกที่ต้องการอัปเดต
  2. ที่เมนูด้านซ้าย ให้คลิกการตั้งค่า > พื้นฐาน > HTTPS
  3. ใน "การเปลี่ยนเส้นทาง HTTPS" ให้เลือกไม่ใช่
  4. แก้ไขเนื้อหาผสมในบล็อก